เว็บบอร์ด


#1 การสร้างเสริมสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการเกื้อหนุนและสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลและกลุ่มคนมีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพของตัวเองและพัฒนาสุขภาพของตัวเอง จะเห็นได้ว่าการสร้างเสริมสุขภาพที่จะได้ผลดี บุคคลและกลุ่มคนต้องเป็นผู้กระทำเอง ไม่ใช่รอหรือหวังพึ่งบริการจากแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขเท่านั้น แต่คนจำนวนมากก็ยังมองเห็นว่าการสรางเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่เขาจะได้รับบริการจากแพทย์ ผมเองในฐานะแพทย์คนหนึ่งได้มีโอกาสตรวจรักษาผู้ป่วย เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ผมก็จะแนะนำให้ลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย คนไข้จำนวนหนึ่งก็จะถามว่ามียากินไหม เพื่อจะได้ไม่ต้องออกกำลังกายและจะได้ไม่ต้องควบคุมอาหาร หรือผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง เมื่อได้รับคำแนะนำให้ควบคุมอาหารโดยลดการบริโภคไขมันหรืออาหารที่มีไขมันสูง คนไข้จำนวนหนึ่งอาจจะถามหายาลดไขมันในเลือดมากกว่าที่จะยอมควบคุมอาหารและออกกำลังกาย บางกรณีสถานการณ์นี้จะชัดเจนยิ่งขึ้นในส่วนของคนไข้ที่มีสิทธิเบิกค่ายาและค่าที่ใช้สิทธิรักษาของกองทุนประกันสังคม นั่นหมายความว่าคนไทยจำนวนหนึ่งยังเห็นว่าสุขภาพเป็นเรื่องที่รักษาได้ โดยไม่คิดที่จะส่งเสริมสุขภาพตัวเองและป้องกันโรค เพราะคิดว่าเมื่อป่วยก็สามารถเบิกค่ารักษาได้ อย่างไรก็ตาม ผมก็ได้พบคนไข้ที่มีความเข้าใจส่งที่ผมอธิบายเป็นอย่างดีและปฏิบัติตามอย่างจริงจัง บางคนสามารถลดน้ำได้มากกว่า 5 กิโลกรมในเวลาเพียง 1 เดือน ย่อมแสดงว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีนั้นเกิดขึ้นจากตัวคนไข้เอง เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายใน (inside out) หากหวังแต่การเปลี่ยนแปลงโดยพึ่งหยูกยาและความช่วยเหลือจากภายนอกหรือจากบุคคลอื่นก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก (out-side in) ซึ่งจะไม่ยั่งยืน เมื่อความช่วยเหลือ คำแนะนำหรือหยูกยาหมดไป สุขภาพของเขาก็จะกลับมาแย่เดือนเดิมหรืออาจจะแย่กว่าเดิมด้วยซ้ำ ยิ่งเมื่อพิจารณากลยุทธ์พื้นฐานของการสร้างเสริมสุขภาพ 5 ประการ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำไว้ ก็จะยิ่งเห็นชัดเจนขึ้นกว่าการสร้างเสริมสุขภาพต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายในจึงจะเป็นไปได้และยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 1 คือ การกำหนดนโยบายสร้างเสริมสุขภาถเป็นนโยบายสาธารณะ ไม่ว่าเป็นองค์กรระดับใด การจะกำหนดนโยบายนี้ได้ต้องอาศัยความเข้าใจของผู้กำหนดนโยบาย หรือแรงผลักดันจากสมาชิกในองค์กรที่เห็นด้วยกับการมีนโยบายนี้ในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ผู้กำหนดนโยบายเห็นคล้อยตาม ความเห็นของผู้กำหนดนโยบายหรือของสมาชิกในองค์กรที่จะไปผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กำหนดเป็นนโยบายดังกล่าว ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในบุคคลนั้นเอง กลยุทธ์ที่ 2 คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การจัดให้มีและคงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพเป็นผลต่อเนื่องจากการมีนโยบายที่เอื้อต่อสุขภาพ ตามด้วยการที่คนและกลุ่มคนมีความเข้าใจและจิตสำนึกที่ดีว่าการมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพจะช่วยสร้างเสริมสุขภาพเขาได้ กลยุทธ์ที่ 3 คือ การสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน (ในกรณีของเรา ก็คือสถานประกอบการ) ข้อนี้เป็นข้อที่ชัดเจนว่า การสร้างเสริมสุขภาพจะต้องเป็นกิจรรมต่อเนื่องที่ชุมชนดำเนินการด้วยตัวเอง ในบางกรณีอาจจะอาศัยความช่วยเหลือทางการเงิน ทรัพยากรและทางเทคนิคจากภายนอก แต่ในระยะยาวชุมชนนั้นต้องดำเนินกิจกรรมนี้ด้วยตัวเอง หรือดียิ่งไปกว่านั้น เมื่อประสบความสำเร็จก็ถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จและเทคนิคการดำเนินงานให้กับชุมชนอื่นๆ ไปปฏิบัติตามหรือเลียนเยี่ยงอย่างในทางที่ดี กลยุทธ์ที่ 4 คือ การพัมนาศักยภาพส่วนบุคคล กรณีนี้จะเห็นได้ชัดในเรื่องของการออกกำลังกายและการเลิกบุหรี่ว่าจะต้องเป็นสิ่งที่ปัจเจกชนแต่ละคนปฏิบัติเอง แพทย์และบุคลากรทางการแพทยืไม่สามารถออกกำลังกายแทนคนไข้และไม่สามารถเลิกบุหรี่แทนคนไข้ได้ คนจำนวนมากทราบถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่แต่ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ อาจเป็นเพราะยังไม่มีความคิดในเชิงบวกว่าตัวเองสามารถกำหนดทางเลือกให้ตัวเองได้ว่าจะสูบบุหรี่หรือไม่ แล้วมีความเข้าใจที่จะเลือกทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพคือการเลิกบุหรี่ กลยุทธ์ที่ 5 คือ การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพจากเชิงรับเป็นเชิงรุก หรือจากการซ่อมสุขภาพเป็นการสร้างสุขภาพ คนส่วนใหญ่อาจจะเข้าใจว่าข้อนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะบุคลากรทางการแพทยืและสาธารณสุขเท่านั้น ว่าจะต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานจากการเป็นผู้ให้บริการสุขภาพมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนประชาชนให้มีความสามารถในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพของประชาชนเอง แต่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือทัศนคติและวิธีคิดของประชาชนเองว่าจะต้องสร้างเสริมสุขภาพและไปพึ่งพาระบบบริการสุขภาพตั้งแต่ในขั้นตอนการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ใช่รอให้ป่วยแล้วจึงไปใช้บริการระบบสุขภาพเพื่อการรักษาพยาบาลเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ในนิยามและแนวคิดกลยุทธ์พื้นฐานของการสร้างเสริมสุขภาพ แสดงให้เห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองเกี่ยวกับสุขภาพของคนทั้งหลาย จากแนวคิดที่ว่าเมื่อเจ็บป่วยให้ไปหาแพทย์ เป็นจะทำอย่างไรที่ตัวเองจะไม่เจ็บป่วย จะได้ไม่ต้องไปรักษาหรือฟื้นฟูสภาพ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและยั่งยืนต่อไปต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงจาก


ที่มา  http://www.thaihealth.or.th/forum/105/5840

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น